ผลสำรวจล่าสุดเผย ชาวยูเครน ต้องการอยู่สู้ แต่ไม่ได้มองชาวรัสเซียเป็นศัตรู ส่วนใหญ่คัดค้านการห้ามไม่ให้เป็นสมาชิกนาโตเพื่อยุติสงคราม ลอนดอน–7 มี.ค.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ผลการสำรวจความคิดเห็นในยูเครนจากลอร์ด แอชครอฟต์ โพลส์ (Lord Ashcroft Polls) เปิดเผยว่า ชาวยูเครนสามในสี่ยินดีถืออาวุธสู้กับกองทัพรัสเซีย และมีเพียงหนึ่งในสิบที่ต้องการหนีออกจากประเทศถ้าทำได้ อย่างไรก็ดี สองในสามเปิดเผยว่า ชาวยูเครนและรัสเซียมีสิ่งที่ทำให้ปรองดองกันมากกว่าแตกแยกกัน
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นชาวยูเครน 1,040 ราย
ซึ่งทำผ่านโทรศัพท์ระหว่างวันที่ 1 ถึง 3 มีนาคมที่ผ่านมา ยังพบว่าชาวยูเครนส่วนใหญ่คัดค้านการห้ามไม่ให้เป็นสมาชิกนาโต ไม่เห็นด้วยกับการลดจำนวนกองกำลังนาโตในประเทศที่ชายแดนติดกับรัสเซีย และไม่เห็นด้วยกับการยอมรับไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียเพื่อแลกกับการยุติสงคราม ผลการสำรวจพบว่า
ผู้ตอบแบบสำรวจ 68% เปิดเผยว่า การคว่ำบาตรรัสเซียเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำให้สงครามสิ้นสุดลง อย่างไรก็ดี มีเพียง 23% ที่มองว่านาโตช่วยยูเครนมากพอแล้ว ขณะที่ 46% มองว่าสหภาพยุโรปช่วยยูเครนมากพอแล้ว ส่วนสหรัฐได้ไป 44% และจีนได้ไป 8% สำหรับสหราชอาณาจักรนั้นเกินครึ่ง (53%) มองว่าช่วยยูเครนมากพอแล้ว
ผู้ตอบแบบสำรวจ 86% ต้องการให้ยูเครนเป็นสมาชิกนาโต และ 6 ใน 10 รู้สึกปลอดภัยกว่าหากทราบว่ายูเครนมีอาวุธนิวเคลียร์ ผู้ตอบแบบสำรวจ 67% ยินดีถืออาวุธสู้กับกองกำลังรัสเซีย และอีก 7% ได้ทำไปแล้ว มีเพียง 11% (และเหลือเพียง 5% ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป) ที่เตรียมหนีออกจากยูเครนในวันถัดไปหากรู้ว่าทำได้อย่างปลอดภัย
ชาวยูเครนส่วนใหญ่ (56%) หวังว่าความขัดแย้งนี้จะสิ้นสุดลงภายในปลายเดือนมีนาคม มีเพียงไม่ถึง 1 ใน 10 (9%) ที่คิดว่าจะยืดเยื้อเกิน 6 เดือน
ผู้ตอบแบบสำรวจ 69% เปิดเผยว่า การห้ามไม่ให้ยูเครนเป็นสมาชิกนาโตเป็นเงื่อนไขที่ยอมรับไม่ได้เพื่อแลกกับการจบสงคราม โดย 61% ระบุว่า การให้นาโตลดจำนวนกองกำลังและอาวุธในประเทศที่ชายแดนติดกับรัสเซียก็ยอมรับไม่ได้เช่นกัน นอกจากนี้ 78% มองว่าการยอมรับไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียก็เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ แม้จะรับประกันว่าถ้าทำแล้วสงครามจะจบก็ตาม
65% เห็นด้วยว่า “แม้เราจะต่างกัน แต่ชาวรัสเซียในยูเครนและชาวยูเครนมีสิ่งที่ทำให้ปรองดองกันมากกว่าแตกแยกกัน”
93% มองอนาคตของยูเครนในเงายุโรปมากกว่ารัสเซีย รวมถึง 78% ของผู้ที่มีเชื้อสายรัสเซีย และ 84% ของผู้ที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศที่ใกล้กับชายแดนรัสเซียที่สุด
ลอร์ด แอชครอฟต์ ระบุในบทความแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลสำรวจครั้งนี้ว่า
” เราทุกคนต่างได้เห็นความกล้าหาญอันน่าทึ่งและจิตวิญญาณของชาวยูเครนที่ได้ตอบโต้กับการรุกรานอันโหดร้ายของปูติน ผลการสำรวจซึ่งบริษัทวิจัยแห่งหนึ่งในกรุงเคียฟได้ทำให้กับ ลอร์ด แอชครอฟต์ โพลส์ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ ยิ่งทำให้น่าชื่นชมยิ่งขึ้นไปอีก หากคุณคิดว่าผลสำรวจความคิดเห็นเป็นเพียงเครื่องล่อใจเล็ก ๆ ท่ามกลางเหตุการณ์มากมายมหาศาลที่กำลังเกิดขึ้นแล้ว ขอบอกเลยว่าพันธมิตรของเราในกรุงเคียฟมีความยินดีที่มีโอกาสแสดงให้โลกเห็นว่า ชาวยูเครนกำลังคิดและรู้สึกอะไรอยู่บ้างในขณะที่ปกป้องประเทศของพวกเขา ”
ลอร์ด แอชครอฟต์ เคซีเอ็มจี พีซี เป็นนักธุรกิจ ผู้ใจบุญ ผู้เขียน และผู้สำรวจความคิดเห็น เขาเคยเป็นเหรัญญิกและรองประธานพรรคอนุรักษนิยมของสหราชอาณาจักร ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์และอดีตเหรัญญิกของสหภาพประชาธิปไตยนานาชาติ ลอร์ด แอชครอฟต์ ได้เริ่มสำรวจความคิดเห็นมาตั้งแต่ปี 2548 ทั้งในสหราชอาณาจักรและทั่วโลก โดยได้ชื่อว่าเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ที่ยุติธรรมและเป็นกลาง
ศาลอาญา ตัดสินจำคุก ‘แอดมิน กูkult’ สามปี ข้อหา ม.112 ปมสติกเกอร์
ศาลอาญา ตัดสินจำคุก แอดมิน กูkult เป็นระยะเวลา 3 ปี ในข้อหา ม.112 หลังติดสติกเกอร์บริเวณพระบรมฉายาลักษณ์ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษาในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นาย นรินทร์ กุลพงศธร ข้อหาหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112
โดยโจทก์ได้ฟ้องว่า จำเลย หมิ่นเบื้องสูง ด้วยการนำสติ๊กเกอร์ที่ มีโลโก้ “กูKult” ไปติดไว้ที่บริเวณพระบรมฉายาลักษณ์ เมื่อช่วงเวลาประมาณหลังเที่ยงคืนของวันที่ 19 ก.ย. 63 โดยเชื่อว่ามีเจตนา ทำให้สถาบัน เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
โดยจำเลยมีเจตนาทำลาย สถาบันซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย เหตุเกิดที่หน้าศาลฎีกา แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุก 3 ปี คำให้การจำเลยที่ไปร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุ บรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2ปี ผู้สื่อข่าวรายงานว่าโดยภายหลังศาลมีคำพิพากษา จำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยศาลอนุญาตให้ประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์คดีโดยใช้หลักประกันและสัญญาประกันเดิม (1 เเสนบาท)
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป