ปลัดกรุงเทพ ยืนยันไม่จำเป็นต้องใช้ ‘ปากกาน้ำเงิน’ กาบัตร เลือกตั้งผู้ว่ากทม65

ปลัดกรุงเทพ ยืนยันไม่จำเป็นต้องใช้ ‘ปากกาน้ำเงิน’ กาบัตร เลือกตั้งผู้ว่ากทม65

ปลัดกรุงเทพ โต้ไม่จำเป็นต้องใช้ ปากกาน้ำเงิน ในการกาบัตร เลือกตั้งผู้ว่ากทม65 ชี้ขอให้ปากกาน้ำเงินเพราะเห็นง่าย นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาชี้แจงหลังมีกระแสข่าวว่าให้ใช้ ปากกาน้ำเงิน ในการกาบัตร เลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพ ที่เปิดคูหาในวันนี้ โดยนายขจิตยืนยันว่า ไม่มีข้อห้ามว่าใช้ปากกาสีไหน ในการกาบาทเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แต่การขอร้องให้ใช้นำเงินเพราะเห็นง่ายชัดเจน

ซึ่งทางปลัดกรุงเทพมหานครระบุต่อว่า การใช้สีนำเงิน จะใช้สีไหนก็ได้ สีดำก็ใช้ได้ ใครยังไม่ออกก็ไปใช้ที่หน่วยได้ หรือไม่ก็ใช้ปากกาที่หน่วยเรามีการทำความสะอาดตลอด

เมื่อถามว่า กกต. บอกให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน นั้น “ปลัด กทม.” ระบุว่า กกต. เขาขอความร่วมมือ ไม่ได้ลงในระเบียบไว้ เรื่องนี้ไม่มีปัญหา เรื่องนี้อย่าไปกังวล อย่าไปเป็นสาระ เพจ Drama Addict เตือนชาวเน็ตอย่า เก็บป้ายหาเสียงชัชชาติ มาทำกระเป๋าผ้า ชี้ให้รีบนำมาคืน ก่อนชัชชาติถูกฟ้อง

เพจ Drama Addict ออกมาโพสต์ข้อความเฟซบุ๊กเตือนประชาชนที่เก็บป้ายหาเสียงเลือกตั้งของนาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่ากรุงเทพป้ายแดง ที่เอาชนะการเลือกตั้งผู้ว่ากทม 65 อย่างถล่มทลาย เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมานี้

โดยทางเพจ Drama Addict ระบุว่า “ข่าวประชาสัมพันธ์ อย่าเก็บป้ายชัชชาติมาทำกระเป๋าโพสต์ลงโซเชียลเพราะจะผิดทั้งลักทรัพย์และอาจทำให้ชัชชาติโดนร้องเรียนได้ ใครที่เก็บป้ายชัชชาติไปทำกระเป๋าแล้ว ฝากนำส่งคืนที่ทีมชัชชาติด้วยจ้า แล้วเดี๋ยวเขาจะเอาไปรีไซเคิลกันเอง ส่งคืนที่ อาคาร Mint Tower ห้อง 310-312 เลขที่ 719 ถนนบรรทัดทอง แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330″

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้นั้นป้ายหาเสียงของนาย ชัชชาติ นั้นมีความพิเศษที่ว่าสามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงผ้าได้และจะนำไปแจกใช้ในกลุ่มทีมงาน ซึ่งนาย ชัชชาติ เคยกล่าวว่า “ทางทีมงานเพื่อนชัชชาติ ไม่อยากให้ป้ายเหล่านี้กลายเป็นขยะหลังการเลือกตั้ง เราทำ Pattern ไว้

เพื่อเราสามารถเก็บกลับมา นำไปตัดและเย็บกระเป๋า หรือผ้ากันเปื้อน ไว้ใช้ต่อในทีมของเราเองได้เลยในอนาคต (แนวคิดนี้ได้มาจาก กลุ่ม ใครกาX Kraikax ที่ได้ลองทำไว้แล้วตั้งแต่เมื่อปี 62 ครับ) ใครมีไอเดียการนำป้ายไปใช้ เสนอกันมาได้เลยนะครับ”

ครบรอบ 8 ปีรัฐประหาร ‘ปฏิวัติ’ กับ ‘รัฐประหาร’ ต่างกันอย่างไร ?

 “เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน…” เวลาช่างผ่านไปไวเหมือนโกหก เนื่องจากเพลงนี้นั้นถึงเวลาครอบรอบ 8 ปี ที่มาพร้อมกับการรัฐประหารประเทศไทย ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะจำช่วงเวลาเคอร์ฟิวส์ในวันนั้นได้เป็นอย่างดี และเกิดคำถามกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงตอนนี้ว่า การรัฐประหาร และ การปฏิวัติ ต่างกันอย่างไร วันนี้ The Thaiger มีคำตอบมาให้ คลายทุกข้อสงสัยได้ที่นี่

การปฏิวัติ กับ รัฐประหาร เป็นคำที่มีความหมายแตกต่างกัน แต่ที่ผ่านมามีการใช้อย่างสับสนทั้งในส่วนของประชาชน สื่อมวลชน หรือไม่แต่คณะผู้ก่อการเอง เช่นเหตุการณ์ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาก็มีหลายคนใช้คำว่า ‘การปฏิวัติ’ ทั้งที่ว่าตามความหมายเป็นการ ‘การรัฐประหาร’ แล้ว 2 คำนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร? และทำไมคนไทยถึงชอบใช้ทั้ง 2 คำปะปนกัน

รัฐประหาร หรือภาษาอังกฤษ Coup De Ta หมายถึง การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน ด้วยวิธีการที่ไม่เป็นตามรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือทั้งรัฐ

สำหรับประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 เป็นต้นมามีการ รัฐประหารเกิดขึ้นทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยมีหลากหลายรูปแบบทั้งการใช้กำลังทหารเข้ายึดครอง หรือการที่นายกรัฐมนตรีรวบอำนาจทั้งหมดมาไว้ที่ตน และยกเลิกโครงสร้างทางการเมืองที่มีอยู่ลง เรียกว่า รัฐประหารเงียบ หรือ รัฐประหารตัวเอง

ความต่างของ การปฏิวัติ กับ การรัฐประหาร ก็คือ การปฏิวัติ จะมุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่การรัฐประหาร จะเปลี่ยนแค่เฉพาะคณะผู้ปกครองเท่านั้น โดยไม่เปลี่ยนระบอบตามไปด้วย ส่วนที่มาของความสับสนของทั้งสองคำนี้ เริ่มต้นขึ้นจากการรัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตช์ ซึ่งได้เรียกตัวเองว่า ‘คณะปฏิวัติ’ เนื่องจากเห็นว่าคำว่ารัฐประหาร ฟังแล้วดูรุนแรงเกินไป

ภายหลังเมื่อคำว่า ปฏิวัติ เริ่มมีความหมายในแง่ลบมากขึ้น จึงเลี่ยงไปใช้คำอื่นแทน เช่น การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ใช้คำว่าเป็น การปฏิรูป

ผลเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ 3 (อ.โพธาราม อ.จอมบึง) 21 พ.ค. 65 ประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ราชบุรี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 65 ดังนี้

อันดับ 1 ชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 2 51,743 คะแนน (ได้รับเลือกตั้ง)

อันดับ 2 ณัฐทนันต์ นิธิภณยางสง่า พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 1 16,853 คะแนน

อันดับ 3 ภิญโญศิลป์ สังวาลวงศ์ พรรคเสมอภาค หมายเลข 3 1,889 คะแนน

ทั้งนี้มี บัตรดีทั้งหมด 70,485 บัตร , บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 3,516 บัตร และ บัตรเสีย 1,913 บัตร

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป